ผลงานภาพยนตร์ของ เฉินหลง หรือ jackie chan

ภาพยนตร์
ปีที่เข้าฉายชื่อเรื่องชื่อภาษาจีนบทNotes
1962Big and Little Wong Tin Bar大小黄天霸รับบทนักแสดงเด็ก
1963The Love Eterne梁山伯與祝英台รับบทนักแสดงเด็ก
1964The Story of Qin Xiang Lin秦香蓮รับบทนักแสดงเด็ก
1966The Eighteen Darts (Part 1)兩湖十八鏢 (下集)รับบทนักแสดงเด็กหรืออีกชื่อหนึ่ง Seven Little Tigers (Part 1)
The Eighteen Darts (Part 2)兩湖十八鏢(上集)รับบทนักแสดงเด็กหรืออีกชื่อหนึ่ง Seven Little Tigers (Part 2)
Come Drink with Me大醉俠รับบทนักแสดงเด็ก
1971A Touch of Zen俠女supporting role
1972Fist of Fury精武門สตั้นแมน
1973Enter the Dragon龍爭虎鬥"นักโทษ" (cameo)
สตั้นแมน
Facets of Love北地胭脂(cameo)
Eagle Shadow Fist頂天立地"Si To" (cameo)
ร่วมกำกับ/เขียนบท/คิวบู๊
หรืออีกชื่อหนึ่ง Not Scared to Die
Kung Fu Girl鐵娃"villain" (cameo)
ร่วมกำกับ/เขียนบท/คิวบู๊
หรืออีกชื่อหนึ่ง Attack of the Kung Fu Girls
aka None but the Brave
aka The Heroine
Little Tiger of Canton廣東小老虎"แจ๊กกี้"
ร่วมกำกับ/เขียนบท/คิวบู๊
หรืออีกชื่อหนึ่ง Cub Tiger from Kwang Tung
Freedom Strikes a Blow碼頭大決鬥ร่วมกำกับ/เขียนบท/คิวบู๊หรืออีกชื่อหนึ่ง Chinese Hercules
1974Fists of the Double K除霸(cameo)
สตั้นแมน
aka Fist to Fist
The Golden Lotus金瓶雙艷"pear seller" (cameo)
Police Woman女警察"gang member" (cameo)
stunt co-ordinator
aka Heroine
This film was marketed as a Jackie Chan film, although he only made a cameo appearance
Supermen Against the Orient四王一后stuntman
stunt co-ordinator
1975All in the Family花飛滿城春"rickshaw driver"
Bruce Lee and I李小龍與我(cameo)
No End of Surprises拍案驚奇(cameo)
The Himalayan密宗聖手stuntman
The Young Dragons鐵漢柔情stunt co-ordinator
1976New Fist of Fury新精武門之精武拳"Lung"
Dance of Death舞拳stunt co-ordinatoraka Eternal Conflict
Shaolin Wooden Men少林木人巷"Tiger"
stunt co-ordinator
aka Shaolin Chamber of Death
aka Shaolin Wooden Men: Young Tiger's Revenge
Hand of Death少林門"Tan Feng"aka Countdown in Kung Fu
Killer Meteors風雨雙流星"Immortal Meteor"
stunt co-ordinator
aka The Killer Meteors, Jackie Chan vs. Wang Yu
The Private Eyes半斤八兩stuntmanaka Mr. Boo 1: The Private Eyes
1977The 36 Crazy Fists三十六迷形拳supporting role
stunt co-ordinator
aka The Blood Pact
To Kill with Intrigue劍花煙雨江南"Cao Lei"
stunt co-ordinator
1978Snake & Crane Arts of Shaolin蛇鶴八步"Hsu Yiu Fong"
stunt co-ordinator
Magnificent Bodyguards飛渡捲雲山"Lord Ting Chung"
stunt co-ordinator
Snake in the Eagle's Shadow蛇形刁手"Chien Fu"
stunt co-ordinator
Drunken Master醉拳"Wong Fei Hung"
Spiritual Kung Fu拳精"Yi-Lang"
stunt co-ordinator
aka Karate Ghostbuster
Half a Loaf of Kung Fu一招半式闖江湖"Jiang"
stunt co-ordinator
Two in Black Belt黑帶恨(cameo)
1979The Fearless Hyena笑拳怪招"Shing Lung"
director
action director
Dragon Fist龍拳"Tang How-Yuen"
action director
Immortal Warriors百戰保山河action director
Master With Cracked Fingers廣東小老虎"Jackie Chan"aka Snake Fist Fighter
This film was created from an almagamation of footage, primarily from the limited-release 1973 film Little Tiger of Canton.
1980The Big Brawl殺手壕"Jerry Kwan"
action director
The Young Master帥弟出馬"Dragon"
ผู้กำกับ
ผู้กำกับคิวบู๊
Read Lips孖寶闖八關โปรดิวเซอร์
1981The Cannonball Run砲彈飛車un-named "Subaru driver" (cameo)
The Gold-Hunters老鼠街โปรดิวเซอร์
1982Dragon Lord龍少爺"มังกร"
ผู้กำกับ
ผู้กำกับคิวบู๊
เขียนบทร่วม
Fantasy Mission Force迷你特攻隊"แซมมี่"
สตั้นแมน
1983Fearless Hyena Part II龍騰虎躍"Chan Lung"
action choreographer (footage)
ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดย Lo wei,
derived from alternative footage recorded during the filming of the original The Fearless Hyena.
It had no input from Jackie Chan.
Winners and Sinners奇謀妙計五福星"CID 07"
Project AA計劃"หม่าหยูหลง"
ผู้กำกับ
เขียนบท
ผู้กำกับคิวบู๊
1984Wheels on Meals快餐車"โทมัส"
Cannonball Run II砲彈飛車2"แจ๊กกี้" (วิศวะกรของมิซูบิชิ)
Pom Pom神勇雙響炮Motorcycle Cop #2 (Cameo)
1985Police Story警察故事"เฉินเจียจี๋" aka "เควิน ชาน"
ผู้กำกับภาพยนตร์
ผู้กำกับคิวบู๊
Heart of Dragon龍的心"Tat Fung" aka "Ted"aka First Mission
Ninja Thunderbolt至尊神偷(cameo)aka To Catch a Thief
aka To Catch a Ninja
aka Ninja Fury
The Protector威龍猛探"Billy Wong"
My Lucky Stars福星高照"Muscles"
Twinkle, Twinkle Lucky Stars夏日福星"Muscles"
1986Naughty Boys扭計雜牌軍"prisoner" (cameo)
producer
1987Project A Part IIA計劃續集"หม่าหยูหลง"
ผู้กำกับ
ผู้กำกับคิวบู๊
Armour of God龍兄虎弟"Jackie Condor" aka "Asian Hawk"
director
stunt co-ordinator
That Enchanting Night良青花奔月producer
1988Police Story 2警察故事續集"Chan Ka Kui" aka "Kevin"
director
stunt co-ordinator
Dragons Forever飛龍猛將"Jackie Lung"
The Inspector Wears Skirts霸王花producer
Rouge胭脂扣producer
1989Miracles奇蹟"Cheng Wah Kuo"
director
producer
writer
action director
aka Mr. Canton and Lady Rose
aka Black Dragon
aka The Canton Godfather
The Inspector Wears Skirts II神勇飛虎霸王花producer
1990Island of Fire火燒島"Lung" aka "Steve"aka The Prisoner
The Outlaw Brothers最佳賊拍檔action director
Stage Door Johnny舞台姊妹producer
Story of Kennedy Town西環的故事producer
1991A Kid from Tibet西藏小子(cameo)
Armour of God II: Operation Condor飛鷹計劃"Jackie Condor"
director
action director
producer
Angry Ranger火爆浪子producer
Beauty and the Beast"Beast" (voice)Chan performed voice acting and singing in the Chinese dub of the film.
1992Police Story 3警察故事III超級警察"Chan Ka Kui" aka "Kevin"aka Supercop
The Twin Dragons雙龍會"Ma Yau" aka "John Ma"
"Die Hard" aka "Boomer"
action director
The Shootout危險情人producer
1993Once a Cop超級計劃"Inspector Chan" (cameo)aka Project S
City Hunter城市獵人"Ryo Saeba"Based on the Japanese manga City Hunter
Crime Story重案組"Inspector Eddie Chan"
stunt co-ordinator
Kin chan no Cinema Jack陳健沒有傑克電影院producerThis is an anthology film, a joint production between Australia, Hong Kong and Japan. The HK section was produced by Jackie Chan and featured Yuen Biao.
1994Drunken Master II醉拳II"Wong Fei Hung"
co-director
stunt co-ordinator
1995Thunderbolt霹靂火"Chan Foh To"
"Alfred Tung"
action director
Rumble in the Bronx紅番區"Keung"
action director
1996Police Story 4: First Strike警察故事IV之簡單任務"Chan Ka Kui" aka "Jackie"
action director
1997Mr. Nice Guy一個好人"Jackie"aka SuperChef
An Alan Smithee Film: Burn Hollywood Burn"himself" (cameo)
1998Who Am I?我是誰"Who Am I?"
director
action director
co-writer
Rush Hour火拼時速"Chief Inspector Lee"
Hot War幻影特攻producer
Mulan花木蘭"Captain Li Shang" (voice)Cantonese and Mandarin version
1999King of Comedy喜劇之王unnamed extra actor (cameo)
Gorgeous玻璃樽"C. N. Chan"
action director
co-producer
co-writer
Gen-X Cops特警新人類"fisherman" (cameo)
2000Shanghai Noon西域威龍"Chon Wang"
2001Rush Hour 2火拼時速2"Chief Inspector Lee"
The Accidental Spy特務迷城"Buck Yuen"
co-producer
2002The Tuxedo燕尾服"Jimmy Tong"
2003The Medallion飛龍再生"Eddie Yang"
The Twins Effect千機變"Jackie"
Shanghai Knights西域威龍2皇家威龍"Chon Wang"
2004New Police Story新警察故事"Senior Inspector Chan Kwok-Wing"
action director
Twins Effect II千機變 II - 花都大戰"Lord of Armour"
(cameo)
aka The Huadu Chronicles: Blade of the Rose
Around the World in 80 Days環遊世界八十天"Passepartout"
Enter the Phoenix大佬愛美麗"Mr. Chan" (cameo)
2005The Myth神話"General Meng Yi"
"Jack"
action director
Everlasting Regret長恨歌co-producer
2006Rob-B-Hood寶貝計劃"Fong Ka Ho" aka "Thongs"
action director
co-producer
co-writer
2007Rush Hour 3火拼時速3"Chief Inspector Lee"
2008The Forbidden Kingdom功夫之王"Lu Yan" / "Old Hop"
Kung Fu Panda功夫熊貓"Master Monkey" (voice)
Run Papa Run一個好爸爸executive producer
Wushu武术executive producer
2009Shinjuku Incident新宿事件"Steelhead"
Looking for Jackie寻找成龙himself
Little Big Soldier小兵大將""
producer
writer
Post-production[1]
aka Big Soldier, Small General
aka Junior Soldiers
The Founding of a Republic建國大業cameo rolePost-production
aka Jian Guo Da Ye (lit. The Great Cause of China's Foundation)
aka Founding of the Nation
aka Lofty Ambitions of Nation Building
2010The Spy Next Door"spy"Post-production
The Karate Kid"Mr. Han"filming
2011Kung Fu Panda: The Kaboom of Doom"Master Monkey" (voice)pre-production

Wheels On Meals

Wheels On Meals



Wheels On Meals

Mr Nice Guy

Mr Nice Guy



Mr Nice Guy

Dragon Lord

Dragon Lord



Dragon Lord

ขอน่าอย่าซ่าส์

ขอน่าอย่าซ่าส์



ขอน่าอย่าซ่าส์

เจ้าพ่อกวางตุ้ง หรือ ฉีจี้

เจ้าพ่อกวางตุ้ง หรือ ฉีจี้



เจ้าพ่อกวางตุ้ง หรือ ฉีจี้

Shanghai Noon

Shanghai Noon



Shanghai Noon

The Myth : ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา

The Myth : ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา

http://youtu.be/DgQb07OvSag

The Myth : ดาบทะลุฟ้า ฟัดทะลุเวลา

Little Big Soldier

Little Big Soldier



Little Big Soldier

เบ่งหัวใจฟัดให้ใหญ่ Gorgeous

เบ่งหัวใจฟัดให้ใหญ่ Gorgeous



เบ่งหัวใจฟัดให้ใหญ่ Gorgeous

เส้าหลินสองใหญ่

เส้าหลินสองใหญ่



เส้าหลินสองใหญ่

Thunderbolt เร็วฟ้าผ่า

Thunderbolt เร็วฟ้าผ่า



Thunderbolt เร็วฟ้าผ่า

Who am I ? ใหญ่เต็มฟัด

Who am I ? ใหญ่เต็มฟัด



Who am I ? ใหญ่เต็มฟัด

สวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก

สวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก



สวมรอยพยัคฆ์พิทักษ์โลก

Rush hour คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด ภาค 1

Rush hour คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด ภาค 1



Rush hour คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด ภาค 1

เอไกหว่า Project A ภาค 2

เอไกหว่า Project A ภาค 2



เอไกหว่า Project A ภาค 2

ใหญ่ฟัดโลก ภาค 2

ใหญ่ฟัดโลก ภาค 2



ใหญ่ฟัดโลก ภาค 2

7 เพชฌฆาตสัญชาติฮ้อ

7 เพชฌฆาตสัญชาติฮ้อ



7 เพชฌฆาตสัญชาติฮ้อ

ไอ้หนุ่มพันมือ 2

ไอ้หนุ่มพันมือ 2



ไอ้หนุ่มพันมือ 2

ไอ้หนุ่มหมัดเมา ภาค 2

ไอ้หนุ่มหมัดเมา ภาค 2



ไอ้หนุ่มหมัดเมา ภาค 2

ไอ้หนุ่มหมัดเมา

ไอ้หนุ่มหมัดเมา



ไอ้หนุ่มหมัดเมา

วิ่งสู้ฟัด ภาค 3

วิ่งสู้ฟัด ภาค 3



วิ่งสู้ฟัด ภาค 3

ฟัดข้ามโลกล่าขุมทองนาซี

ฟัดข้ามโลกล่าขุมทองนาซี



ฟัดข้ามโลกล่าขุมทองนาซี

ใหญ่แฝด ผ่าโลกเกิด

ใหญ่แฝด ผ่าโลกเกิด



ใหญ่แฝด ผ่าโลกเกิด

The Accidental Spy วิ่งระเบิดฟัด

The Accidental Spy วิ่งระเบิดฟัด



The Accidental Spy วิ่งระเบิดฟัด

เอไกหว่า

เอไกหว่า



เอไกหว่า

เฉินหลง มังกรหนวดทอง Dragon Forever

เฉินหลง มังกรหนวดทอง Dragon Forever



เฉินหลง มังกรหนวดทอง Dragon Forever

เฉินหลงมือปราบจมูกหิน

เฉินหลงมือปราบจมูกหิน



เฉินหลงมือปราบจมูกหิน

เฉินหลง ตำรวจฟัดเดือด

เฉินหลง ตำรวจฟัดเดือด



เฉินหลง ตำรวจฟัดเดือด

City Hunter ใหญ่ไม่ใหญ่ข้าก็ใหญ่

City Hunter ใหญ่ไม่ใหญ่ข้าก็ใหญ่



City Hunter ใหญ่ไม่ใหญ่ข้าก็ใหญ่

กูกู๋ปืนเค็ม

กูกู๋ปืนเค็ม



กูกู๋ปืนเค็ม

วิ่งระเบิดฟัด

วิ่งระเบิดฟัด



วิ่งระเบิดฟัด

คู่ฟัดใหญ่เต็มสปีด ภาค 3

คู่ฟัดใหญ่เต็มสปีด ภาค 3



คู่ฟัดใหญ่เต็มสปีด ภาค 3

ดูหนัง เฉินหลง มังกรถล่มปฐพี

ดูหนัง เฉินหลง มังกรถล่มปฐพี



ดูหนัง เฉินหลง มังกรถล่มปฐพี

เฉินหลง กับ 10 สุดยอดฉากแอคชั่น สตั๊นท์ไม่กลัวตาย

เฉินหลง กับ 10 สุดยอดฉากแอคชั่น สตั๊นท์ไม่กลัวตาย

นับหนึ่งถึงร้อย "หนังเฉินหลง"

นับหนึ่งถึงร้อย "หนังเฉินหลง"

ขอแนะนำให้ซื้อนิตยสาร ''เอนเตอร์เทน'' เล่มที่วางตลาด ประจำเดือนพฤศจิกายนนี้ที่ต้องแนะนำก็เพราะว่า

ในแซ็กชั่น ''เอเชี่ยนโซน'' มีเรื่องโดนใจแฟนหนัง ''เฉินหลง'' แน่

ข้อเขียนมีชื่อว่า จาก 1 ถึง 100 ผลงานการแสดงของเฉินหลง มีข้อเขียนรวมทั้งภาพถ่ายหนังหลายเรื่องของ ''มังกรเฉิน'' เป็นข้อมูลที่สมควรจะเก็บไว้เพราะจะได้เห็นว่า

กว่าที่จะมาเป็นนักแสดงแห่งเอเชีย และพัฒนาขึ้นเป็นนักแสดงระดับฮอลลีวู้ด ''เฉินหลง'' จะต้องพัฒนาตัวเองขึ้นมาอย่างไร

หนังเรื่องที่หนึ่ง ซึ่งลูกนำมาบันทึกบันเทิงเอาไว้ เป็นหนังชื่อ ''มังกรหมัดเทวดา'' มีชื่อภาษาอังกฤษ ''MASTER WITH CRACKED FINGER''

ภาพยนตร์เรื่องนี้เขาแสดงเป็นเรื่องแรก เมื่อปี 1971 ก็สี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา

ตอนนั้นเขาเป็นแค่สตั๊นต์แมนตัวประกอบ แต่ก็เข้าตาพระเอกดังในยุคนั้นคือ ''บรู๊ซ ลี''

''เฉินหลง'' จึงได้ร่วมแสดงกับพระเอกผู้นี้ในหนังเรื่อง ''ENTER THE DRAGON''

เล่ากันว่าผิดคิวบู๊ ''บรู๊ซ ลี'' เอาไม้ตีหน้าของ ''เฉินหลง'' จนสัญญาว่าหนังทุกเรื่องที่เขาเล่นจะต้องมี ''เฉินหลง'' แสดงด้วย แต่แล้ว ''บรูซ ลี'' ก็จากไปเสียก่อน

หนังเรื่องที่ 16 เป็นหนังที่ทำให้แฟนหนังกำลังภายในรู้จักเขาดีก็คือหนังเรื่อง ''ไอ้หนุ่มหมัดเมา'' (DRUNKEN MASTER) เมื่อปี 1978

หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก จึงมีภาคสองที่ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า ''THE LEGENEDOF DRUNKEN'' แฟนหนังของเขาคงจะจำได้ว่า

หนังเรื่องนี้มีฉากแอ็กชั่นชกต่อยตีรันฟันแทงกันเป็นเวลานานถึง 20 นาที เป็นที่สบอารมณ์แฟนหนังหมัด...หมัด มวย...มวยเอามาก...มาก

อีกเรื่องหนึ่งก็ประสบความสำเร็จในเมืองไทย ตั้งแต่ยังไม่ทันฉายก็คือเรื่อง ''เอไกหวา'' (PROJECT A) เป็นหนังเรื่องที่ 28 เพราะบ้านเรามีการแย่งซื้อหนังเรื่องนี้ จึงถึงกับมีการฟ้องร้องกัน

''เอไกหวา''...สร้างเมื่อปี 1983 ''เฉินหลง'' เอาดาราดังสองคนของฮ่องกงมาช่วยเสริมความสนุกมี หงจินเปา กับ หยวนเปียว

จากความสำเร็จเรื่องนี้ ต่อมาก็เลยมีหนังที่ดาราสามคนแสดงร่วมกันอีกหลายเรื่อง จนทำให้มีหนังเรื่องที่ 34 ที่สร้างขึ้นเมื่อปี 1985 คือเรื่อง ''วิ่งสู้ฟัด'' (POLICESTORY)

หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จมาก จนต้องสร้างเป็นภาคสองและภาคสาม

หนังเรื่องที่ 38 คือเรื่อง ''ฟัดข้ามโลก ล่าสุดแผ่นดิน'' (THE ARMDUR OF THE GODS) เมื่อปี 1987 ''เฉินหลง'' สร้างเรื่องนี้ด้วยการไปถ่ายทำต่างประเทศ เรื่องราวคล้ายกับ ''อินเดียน่า โจนส์'' ซึ่งก็ทำให้มีภาคอื่นตามมา ในแบบฉบับเดียวกันนี้

มีการเปลี่ยนแปลงประเภทหนังของเขาเมื่อสร้างเรื่อง ''วิ่งสู้ฟัด ภาคพิเศษ'' (CRIME STORY) ที่สร้างเมื่อปี 1993 เป็นหนังเรื่องที่ 51 หนังเรื่องนี้ ''เฉินหลง'' สร้างแบบฮอลลีวู้ดคือจริงจังไม่ใช่หนังปนตลกอย่างที่เขาเคยทำมา และความสำเร็จของหนังเรื่องนี้ทำให้ก้าวเข้าสู่วงการหนังฮอลลีวู้ด เมื่อปี 1995 ด้วยหนังเรื่อง ''ใหญ่ฟัดโลก'' (RUMBLIN THE BROX) เป็นเรื่องที่ 54 เขาก้าวขึ้นสู่ความเป็นดาราระดับโลกจากหนังเรื่องนี้

''เฉินหลง'' ยังไม่หยุดการทำงานในปี 1998 เขาสร้างเรื่อง ''คู่ใหญ่ฟัดเต็มสปีด'' (RUSH HOVR) หนังเรื่องนี้ทำเงินสูงสุดเท่าที่เคยสร้างหนังมา คือเก็บเงินได้ถึง 345 ล้านเหรียญ

แต่หนังเรื่องที่ 91 เพิ่งจะฉายไปเมื่อเร็วๆ นี้คือเรื่อง ''หนึ่งฟัดหนึ่ง ใหญ่ต่อใหญ่'' (THE FORBIDDEN KING DOM) เขาทำให้แฟนหนังสะใจเมื่อเขาแสดงร่วมกับ ''เจ็ท ลี''

แต่ทั้ง 99 เรื่องที่เขาแสดงมา ไฮไลต์จุดสูงสุดก็คือหนังเรื่องนี้

ปีนี้มีหนังเฉินหลงสร้างชื่อเป็นตัวเลขว่า ''1911;'' (2011) ใครไม่ได้ติดตามงานของเขาก็คงจะไม่เข้าใจว่าทำไมจึงตั้งชื่อหนังเป็นตัวเลข

ก็ต้องบอกว่าหนังเรื่องที่ 100 ของเขาน่าสนใจกว่าทุกเรื่องที่สร้างมา

1911 คือปีที่มีการปฏิวัติในเมืองจีน ที่ประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า ''การปฏิวัติซินไฮ่'' (เซี่ยงไฮ้)

คือปีที่สิ้นสุดราชวงศ์ชิง จีนเข้าสู่ระบบ สาธารณรัฐ

ความยิ่งใหญ่ของหนังเรื่องนี้ จึงทำให้นิตยสาร ''เอนเตอร์เทน'' ต้องเอามารวบรวมไว้ในหนังสือประจำเดือนพฤศจิกายนนี้ จึงขอแนะนำให้ซื้อเก็บไว้...สำหรับคนที่รักและหลงใหลมังกรเฉินผู้นี้ครับ

"สันติ เศวตวิมล"

ที่มา
http://www.siamdara.com/ColumnDetail.asp?cid=11679

เกียรติประวัติและภาพลักษณ์ของเฉินหลง

เกียรติประวัติและภาพลักษณ์ของเฉินหลง


ด้านเกียรติประวัติ เฉินหลงได้รับรางวัลมาแล้วทั่วโลก โดยเขาได้รับรางวัล Innovator Award ในเวที American Choreography Awards ในปี 2002 , รางวัล Lifetime Achievement Award เวที Asia-Pacific Film Festival ในปี 1993 MTV Movie Award ปี 1995 และ Taurus Honorary Award ปี 2002 และอื่นๆอีกมากมาย

และเฉินหลงเป็นดาราคนที่ 2,205 ที่ได้มาประทับฝ่ามือไว้เป็นเกียรติประวัติที่ Star on the Walk of Fame และ The Avenue of Stars ที่ฮ่องกง

ด้านภาพลักษณ์ วง Ash's แต่งเพลง "Kung Fu" โดยใช้เฉินหลงในหนัง Rumble In The Bronx (1995) ไปอ้างอิงในเนื้อเพลงและได้ใช้เป็นเพลงเครดิตตอนท้ายของหนังในเรื่องนี้ของเวอร์ชันอเมริกา และ "Jackie Chan" ของวง Frank Chickens

และเฉินหลงยังเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างตัวการ์ตูนตัวหนึ่งใน ดราก้อนบอล, ตัวละคร Lei Wulong ใน Tekken และท่าทางของตัวละคร Hitmonchan ของ โปเกมอน รวมทั้งเป็นพรีเซ็นเตอร์ของ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ที่ดีมายาวนาน และมิตซูบิชิยังมอบรถเพื่อใช้ในการถ่ายทำหนังของเขามาโดยตลอด นอกจากนี้ เฉินหลง ยังเคยรับบทเป็น ซาเอบะ เรียว และ ชุนลีในภาพยนตร์เรื่อง ซิตี้ฮันเตอร์ (CITY HUNTER) มาแล้วด้วยเช่นกัน



ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุของเฉินหลง


ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ

เฉินหลงได้จัดตั้งทีมงานสตั๊นท์ของตนเองโดยใช้ชื่อว่า Jackie Chan Stunt Team (หรืออีกชื่อ Jackie Chan's Stuntmen Association) ซึ่งเฉินหลงตั้งทีมนี้ในปี 1983 โดยทำงานในการออกแบบท่าทางและสร้างสรรค์ฉากแอ็คชั่นในหนังของเฉินหลง โดยแรกเริ่มมีสมาชิกเพียง 6 คน จากนั้นก็มีคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในทีมนับสิบกว่า ทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ ซึ่งทีมของเฉินหลงยังประสานงานร่วมกันกับทีมของ หงจินเป่า และ หยวนเปียว ด้วย โดยใช้ชื่อว่า Hung Ga Ban และ Yuen Ga Ban ตามลำดับ

การเกิดอุบัติเหตุก็ดูว่าจะเป็นของคู่กันกับการแสดงฉากเสี่ยงตายของเฉินหลง ซึ่งบาดแผลจากอุบัติเหตุของเฉินหลงนั้นมีมากมายจนนับไม่ถ้วน แต่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดก็คือในหนังเรื่อง Armour of God (1987) : ใหญ่สั่งมาเกิด โดยในฉากแรกของหนังที่เฉินหลงจะต้องกระโดดจากตึกแล้วมาเกาะต้นไม้ แต่ในการถ่ายทำครั้งแรกเฉินหลงรู้สึกไม่ดีพอเลยต้องการถ่ายใหม่ แต่การถ่ายครั้งที่สองต้นไม้ที่เฉินหลงเกาะนั้นเกิดหัก ทำให้เฉินหลงตกลงมาในความสูงที่พอสมควร ผลก็คือ กะโหลกศีรษะของเฉินหลงร้าว ทำให้ต้องมีการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่ในที่สุดเฉินหลงก็รอดมาได้ ทว่าหูของเขาได้รับความกระทบกระเทือนพอสมควร จึงทำให้ประสิทธิภาพในการได้ยินลดลง

ในการถ่ายทำหนังเฉินหลงผ่านการบาดเจ็บมามากมายนับครั้งไม่ถ้วน ได้แก่

1. ศีรษะ - สมองได้รับความกระทบกระเทือนจากหนังเรื่อง Armour of God, ได้รับความกระทบกระเทือนจนหมดสติใน Hand of Death
2. หู - ในอุบัติเหตุครั้งเดิมใน Armour of God หูข้างซ้ายของเฉินหลง มีประสิทธิภาพทางการได้ยินน้อยลง
3. ตา - หางคิ้วบาดเจ็บ และเกือบตาบอดใน Drunken Master
4. จมูก - จมูกใหญ่ๆ ของเฉินหลงเคยหักมาสองครั้ง ใน The Young Master, Project A และเกือบๆ หักใน Mr. Nice Guy
5. แก้ม - กระดูกแก้มเคลื่อนใน Police Story 3
6. ฟัน - ฟันหักไปหนึ่งซี่ โดยการแตะของ Hwang Jang Lee ใน Snake in the Eagle's Shadow
7. คาง - ใน Dragon Lord ที่เฉินหลงกำกับเอง เขาบาดเจ็บคางจนเจ็บแม้กระทั่งเวลาพูด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเวลาต้องกำกับหนัง ส่วนการแสดงไม่สามารถทำได้เลย
8. ช่องคอ - จากการเกิดอุบัติเหตุในการถ่ายทำเรื่อง The Young Master
9. คอ - เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ครั้งที่หนักที่สุดก็คือฉาก "หอนาฬิกา" ใน Project A และจากการถ่ายฉากตีลังกาใน Mr. Nice Guy
10. ไหล่ - เจ็บไหล่จาก City Hunter
11. มือ - จาก The Protector ที่เฉินหลงเจ็บมือ และกระดูกนิ้วร้าว
12. แขน - ในเรื่อง Snake in the Eagle's Shadow เฉินหลงต้องถ่ายทำฉากการต่อสู้โดยใช้ดาบ เกิดอุบัติเหตุจนดาบไปเฉือนเนื้อของเขาเข้าจริงๆ จนเลือดพุ่งออกมา แต่กล้องก็ยังถ่ายต่อไป ทำให้อุบัติเหตุนี้ปรากฏอยู่ในฉากนั้นด้วย อีกเรื่องคือ "The Accidental Spy" ในฉากสุกท้ายที่เฉินหลงต้องกระโดดออกจากรถบรรทุกที่ต้องเกาะตาข่าย ที่ข้างทางถึงแม้จะมี Sling แต่ นั่นก้อยังทำให้เฉินหลงแขนหักอยู่ดี
13. หน้าอก - ฉากที่เฉินหลงต้องถูกห้อยด้วยโซ่ใน Armour of God II: Operation Condor ทำให้กระดูกหน้าอกเคลื่อน
14. หลัง - เกิดขึ้นบ่อยๆ ในหนังของเฉินหลง โดยเฉพาะใน Police Story ในฉากที่เฉินหลงสไลด์ตัวลงมาจากเสา เกือบทำให้เขาเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลังเกือบหัก
15. กระดูกเชิงกราน - ในฉากเดียวกันกับด้านบน กระดูกเชิงกรานของเฉินหลงเคลื่อน
16. ขา - ขาหักใน Crime Story จากอุบัติเหตุจากรถ
17. เข่า - เข่าก็เป็นอีกส่วนที่หักเป็นประจำ ครั้งที่รุนแรงที่สุดคือฉากสเก็ตบอร์ดใน City Hunter
18. เท้า - เฉินหลงเท้าหักในฉากที่ต้องกระโดดลงไปใน hovercraft ในภาพยนตร์เรื่อง Rumble in the Bronx หลังจากไปเข้าเฝือก เฉินหลงก็กลับไปแสดงทั้งๆ ที่ยังใส่เฝือกที่ขาอยู่

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87

แรงบันดาลใจของเฉินหลง

แรงบันดาลใจของเฉินหลง

แรงบันดาลใจของเฉินหลงไม่ใช่บรู๊ซลี" เฉินหลงเคยบอกว่าเขาไม่ต้องการจะเป็นบรู๊ซลีคนที่ 2 แต่เขาต้องการต่างออกไปจากตัวของบรู๊ซลี เฉินหลงจึงผสมผสานงานของเขาให้ออกมาในแบบที่ไม่รุนแรง ซึ่งงานของบรู๊ซลีมักจะเป็นในรูปแบบที่จริงจัง หนักหน่วง ภาพยนตร์ของเฉินหลงเป็นในรูปแบบกังฟูสมัยใหม่ผสมกับความตลก ซึ่งแรงบันดาลใจมาจากดาราตลกเงียบ 3 คน อันได้แก่

1. ชาร์ลี แชปลิน ในส่วนนี้เฉินหลงได้แรงบันดาลใจมากจากการแสดงหน้า ท่าทาง
2. ฮาร์โรลด์ ลอยด์ เฉินหลงได้ไอเดียจากการแสดงฉากหัวเราะในเวลาที่สถานการณ์ขับขัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คืองานของเฉินหลงในเรื่อง เอไกหว่า หรือ Project A (1984) ในฉากตกหอนาฬิกา โดยเหมือนกันทุกๆอย่าง ต่างกันที่เฉินหลงเลือกที่จะตกลงมาจากความสูงจริงๆ แต่ฮาร์โรลด์ ลอยด์ ใช้ความสูงที่ต่างจากเฉินหลง
3. บัสเตอร์ คีตัน เฉินหลงได้ไอเดียของการแสดงตลกหน้าตาย ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอีกคือ ฉากที่ฝาบ้านในเรื่อง Project A Part II (1987) ตกลงมาใส่ตัวของเฉินหลง แต่เฉินหลงกลับอยู่ในจุดที่ตรงกับประตูของฝาบ้าน จึงทำให้เฉินหลงไม่เป็นอะไร ซึ่งคล้ายกับฉาก Steamboat Bill Jr. (1928) ของบัสเตอร์ คีตัน


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87

เฉินหลงในรูปแบบอื่น

เฉินหลงในรูปแบบอื่น
วิดีโอเกม



เฉินหลงในปัจจุบันเป็นดาราแอคชั่นระดับโลกไปแล้ว ดังนั้นบริษัทเกมทั้งหลายจึงอยากจะนำรูปลักษณ์ของเฉินหลงไปเป็นตัวละครในเกม เดิมทีเฉินหลงเคยถูกนำไปเป็นแบบตัวละครในเกม Jackie Chan's Action Kung Fu ในปี 1991 โดยบริษัท Hudson Soft

ปี 1995 เฉินหลงก็ถูกเอาไปสร้างเป็นเกมตู้ในเกมที่มีชื่อว่า Jackie Chan In Fists Of Fire สร้างโดย Kaneko

ปี 2000 เครื่องเล่นเกมเพลย์สเตชันก็เอาเฉินหลงไปเป็นตัวละครในเกม Jackie Chan Stuntmaster ซึ่งผลิตโดย Radical Entertainment ซึ่งเป็นเกมรูปแบบ 3D

และล่าสุดกับเกม Jackie Chan Advertures ในปี 2004 โดยอิงจากตัวละครในการ์ตูน Jackie Chan Adventures โดยจัดจำหน่ายในรูปแบบเครื่องเกมบอยแอดวานซ์ และ เกมเพลย์สเตชัน 2 โดยบริษัท Atomic Planet ในเครือของ Sony โดยอิงเนื้อเรื่องของการ์ตูนในช่วง Season 1 และ 2

การ์ตูน

Jackie Chan Adventures เป็นชื่อของการ์ตูนที่เอาคาแรคเตอร์ของเฉินหลงไปสร้างเป็นตัวละครหลักของเรื่อง โดยการสร้างสรรค์ของจอห์น โรเจอร์ ผ่านการออกแบบตัวละครโดย เจฟฟ์ มัสสุดะ ออกฉายทางช่อง Cartoon Network สร้างโดย Kids' WB ออกอากาศตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน ปี 2000 ถึง 8 กรกฎาคม ปี 2005 ทั้งหมด 95 ตอน ภายใน 5 Season และเคยออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 เวลา 06.00 ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ ปี 2544 - 2545


ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87

ผลงานเฉินหลง


JCE Movies Limited
หลังจากร่วมงานกับทาง Golden Harvest มานานร่วม 20 กว่าปี ในปี 2003 เฉินหลงจึงตัดสินใจเดินออกจาก Golden Harvest และมาเปิดบริษัทของตัวเองในนาม JCE Movies Limited (Jackie Chan Emperor Movies Limited) โดยอยู่ในเครือของบริษัท Emperor Multimedia Group (EMG) บริษัทสื่อบันเทิงยักษ์ใหญ่ในฮ่องกง

ซึ่งตัวของเฉินหลงเองเป็นทั้งผู้สร้างและนำแสดงในหนังของตนเอง หนังของเขาเรื่องแรกในนามบริษัทนี้ คือ The Medallion (2003) และหลังจากนั้นก็มีผลงานทำเงินต่อเนื่องอย่าง New Police Story (2004) , The Myth (2005) และ Rob-B-Hood (2006)

ปี 2009 เฉินหลงนำแสดงภาพยนตร์แนวดราม่าเรื่อง The Shinjuku Incident (2009) ผลงานของ เอ๋อตงเซิน โดยเรื่องนี้เป็นผลงานดราม่าเต็มรูปแบบครั้งแรกของเฉินหลง

ช่วงหลังๆมานี้เฉินหลงมีผลงานการแสดงกับต่างชาติน้อยลง เขาเริ่มที่จะกลับมาทำหนังในฮ่องกงอีกครั้ง ซึ่งหนังเรื่องที่ 100 ของเขาคือ Chinese Zodiac หรือภาคต่องของหนังสุดมันส์อย่าง Armour Of God มีชื่อไทยเรียกว่า "ใหญ่สั่งมาเกิด"

ผลงาน
Rice Rhapsody (2004)
Enter the Phoenix (2004) [รับเชิญ]
New Police Story (2004)
House of Fury (2005)
Everlasting Regret (2005)
The Myth (2005)
Rob-B-Hood (2006)
Run Papa Run (2008)
Wushu (2008)
Shenmue Online (VG) (2008)
The Shinjuku Incident (2009)

นักร้อง
เฉินหลงเป็นคนที่ชอบร้องเพลงเป็นชีวิตจิตใจ เฉินหลงเคยชิมลางร้องเพลงประกอบในหนังเรื่อง The Young Master (1980) ในเพลงที่มีชื่อว่า "Kung Fu Fighting Man" ซึ่งเป็นเพลงภาษาอังกฤษเพลงแรกในชีวิตของเขา

และในปี 1984 เฉินหลงเปิดตัวในฐานะศิลปินกับอัลบั้มแรกที่มีชื่อชุดว่า Love Me โดยมีเพลงฮิตในชื่อเดียวกับอัลบั้ม ซึ่งประสบความสำเร็จพอสมควร และหลังจากนั้นเขาก็มีผลงานอัลบั้มเพลงกว่า 20 ชุด โดยเป็นอัลบั้มเดี่ยว 11 ชุด อัลบั้มรวมฮิต 9 อัลบั้ม อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ 12 ชุด (ร่วมร้อง) และร่วมร้องกับศิลปินอื่นๆอีกมากมาย

อัลบั้มเพลงเดี่ยวล่าสุดของเขาคือชุด Truely, With All My Heart ในปี 2002 และมีเพลงฮิตในชื่อเดียวกับอัลบั้ม

Music Albums
Love Me (1984)
Do Je (1985)
The Boy's Life (1985)
Shangri La (1986)
Sing Lung (1986)
Mou Man Tai (1987)
HK, My Love (1988)
Jackie Chan (1988)
The Best Of Jackie Chan (1988)
See You Again - The Best of Jackie Chan II (1989)
Jackie (1989)
The First Time (1992)
The Best of Film Music (1995)
Jackie Chan (1995)
Giant Feelings (90s)
Dragon's Heart (1996)
The Best Of Jackie Chan (1999)
Asian Pops Gold Series (2000)
Rock Hong Kong 10th Anniversary - Jackie Chan Greatest Hits (2003)
Movie Soundtrack LP's & CD's
Armour of God (Alan Tam - 1986)
Police Story 3 (1992)
Drunken Master 2 (1994)
Thunderbolt (1995)
Mr. Nice Guy (1997)
Who Am I (1998)
Mulan - Chinese OST (1998)
Gorgeous (1999)
Rush Hour - Asian OST (1998)
Accidental Spy (2001)
New Police Story (2004)
The Myth (2005)
Rob-B-Hood (2006)

สารคดี
เฉินหลงได้สร้างงานสารคดีเกี่ยวกับชีวิตของตัวเขาเองถึง 3 ครั้ง ครั้งแรกเขาสร้างงานสารคดีเกี่ยวกับชีวประวัติตัวเองในชื่อชุด Jackie Chan : My Story (1998) เนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของชีวิตตั้งแต่เกิดจนถึงจุดที่เฉินหลงประสบความสำเร็จจนทุกวันนี้ ซึ่งมีแขกรับเชิญต่างๆมากมาย อาทิ หงจินเป่า หยาง จื่อฉยง และอื่นๆอีกมากมาย

ครั้งที่สองใช้ชื่อชุดว่า Jackie Chan : My Stunts (1999) โดยเนื้อหาในนี้เกี่ยวงานแอ๊คชั่นของเฉินหลง ซึ่งเป็นเคล็ดลับสำหรับคนที่ต้องการศึกษาเกี่ยวกับงานสตันท์ได้เป็นอย่างดี

และครั้งล่าสุดใช้ชื่อชุดว่า Traces of a Dragon : Jackie Chan & His Lost Family (2003) ซึ่งว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของพ่อเฉินหลง ซึ่งเนื้อหาจะมีเรื่องของสภาพสังคมในประเทศจีนในสมัยของพ่อเฉินหลง

เฉินหลงมีส่วนร่วมในสารคดีเรื่อง An Alan Smithee Film: Burn Hollywood Burn (1998) โดยเฉินหลงรับบทเป็นตัวของเฉินหลงจริงๆ หนังว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับผู้กำกับ ที่ทำหนังไม่เคยประสบความสำเร็จเลย แต่หนังก็สามารถคว้ารางวัล Razzie Awards (รางวัลหนังยอดแย่) ไปครองถึง 5 ตัว

ธุรกิจส่วนตัว
เฉินหลงนอกจากจะทำงานในวงการบันเทิงแล้ว เขายังมีธุรกิจส่วนตัวอย่างร้านอาหาร Jackie's Kitchen ที่มีสาขา ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และอีกหลายสาขาในทั่วโลก Jackie Chan Cafe ที่มีสาขาทั้งจีน, มาเลเซีย และ สิงค์โปร์ รวมถึงธุรกิจฟิตเนสที่มีชื่อว่า California Fitness Jackie Chan Sport Club และล่าสุดได้เปิดเว็บไซต์อย่าง JackieChanDesign.com ที่รวบรวมขายสินค้าของเขาทางอินเทอร์เน็ต นับตั้งแต่โปสเตอร์, เสื้อผ้า,ของตกแต่งบ้าน จนกระทั่งแสตมป์ และมีสาขาต่างประเทศคือ อังกฤษ และ รัสเซีย

ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87

ประวัติของเฉินหลง

เฉินหลง


เฉินหลง (จีนตัวเต็ม: 成龍; จีนตัวย่อ: 成龙; พินอิน: Chénglóng) อ่านว่า เฉิงหลง หรือ แจ๊กกี้ ชาน (อังกฤษ: Jackie Chan) เป็นนักแสดงชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1954 ชื่อจริงของเฉินหลงคือ เฉิน ก่างเซิง (จีนตัวเต็ม: 陳港生; จีนตัวย่อ: 陈港生; พินอิน: Chén Gǎngshēng)

ประวัติ
ชีวิตช่วงแรก

เฉินหลงเกิดวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2497 ที่วิกตอเรียพีค (อังกฤษ:Victoria Peak ; จีน : 太平山 หรือ 扯旗山) ในฮ่องกง มีชื่อจริงว่า เฉิน ก่างเซิง (陳港生) หรือหมายความว่า "เกิดที่ฮ่องกง" พ่อของเฉินหลงชื่อ เฉิน จื้อผิง (陳志平) แม่ชื่อ เฉิน ลี่ลี่ (陳莉莉) เดิมอยู่เมืองจีน แต่หนีออกมาอยู่ฮ่องกงสมัยสงครามกลางเมือง ตอนเด็กๆ พ่อแม่ตั้งชื่อเล่นให้อย่างน่ารักน่าเอ็นดูว่า "เพ่าเพ่า" หรือ "ลูกระเบิด" เพราะชอบนอนกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่บนเบาะ เขาเกิดมาในครอบครัวที่ยากจน เขาเกือบถูกพ่อแม่ผู้บังเกิดเกล้าขายให้กับหมออังกฤษในราคาแค่ 26 เหรียญ แต่แล้วพ่อแม่ของเขาก็ได้ล้มเลิกความคิดนั้น

พ่อของเขาทำงานเป็น "พ่อครัว" แม่ทำงานเป็น "แม่บ้าน" ให้กับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในฮ่องกง เฉินหลงก็เติบโตมาในสถานทูต เมื่ออายุถึงเกณฑ์ก็เข้าเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนหนานหัว

เมื่อเฉินหลงอายุได้ 7 ขวบ พ่อก็ส่งเขาเข้าโรงเรียนอุปรากรจีน โดยที่ตัวของพ่อกับแม่นั้นต้องไปทำงานเป็นพ่อครัวกับแม่บ้านที่สถานทูตในออสเตรเลีย และที่โรงเรียนนั้นเองที่ทำให้เฉินหลงได้เรียนรู้ชีวิตที่โดดเดี่ยว เพราะเขาต้องห่างครอบครัวเป็นเวลานาน แต่ที่นั่นก็ทำให้เฉินหลงได้พบเพื่อนร่วมสาบานอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว

เฉินหลงเรียนจบเมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ไปสมัครเข้าร่วมทีมสตันท์ในวงการหนังฮ่องกงในช่วงที่ บรู๊ซ ลี ยังมีชีวิตอยู่ แต่เมื่อ บรู๊ซ ลี เสียชีวิต เฉินหลงต้องตกงานเพราะวงการหนังกังฟูฮ่องกง กำลังอยู่ในช่วงตกต่ำ

จุดตกต่ำ
ความสามารถเฉินหลงเกิดไปสะดุดตาผู้สร้างหนังอย่าง หลอเหว่ย ผู้กำกับหนัง Fist of Fury ของบรู๊ซ ลี โดยเขาต้องการปั้นดารากังฟูขึ้นมาแทนบรู๊ซ ลี โดยเฉินหลงได้แสดงหนังในตอนนั้นทั้งหมด 10 เรื่อง ได้แก่ New Fist of Fury (1976) Shaolin Wooden Men (1976) Eagle Shadow Fist (1977) Half a Loaf of Kung Fu (1977) Killer Meteors (1977) To Kill with Intrigue (1977) Snake and Crane Arts of Shaolin (1978) Magnificent Bodyguards (1978) Spiritual Kung Fu (1978) และ Dragon Fist (1978) โดยทั้งหมดนี้ไม่ประสบความสำเร็จเลยแม้แต่เรื่องเดียว

จุดประสบความสำเร็จ
ปี 1978 เมื่อเฉินหลงนำแสดงหนังให้กับ Seasonal Film เรื่อง Snake in the Eagle's Shadow (1978) ทำให้ชื่อของเฉินหลง กลายเป็นดาราดังเพียงช่วงข้ามคืน เพราะสามารถทำเงินอย่างมหาศาลในฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็ได้นำแสดงใน Drunken Master (1978) โดยเฉพาะเรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะประสบความสำเร็จในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังประสบความสำเร็จทั่วเอเชียอีกด้วย

และเมื่อเฉินหลงหมดสัญญากับหลอเหว่ย เขาก็มุ่งหน้าไปที่สังกัดโกลเด้นท์ ฮาร์เวส (Golden Harvest) ซึ่งในอดีตบรู๊ซ ลี เคยเป็นดาราประจำของค่ายนี้ โดยที่สิทธิการทำหนังในค่ายนี้ เฉินหลงเป็นคนสามารถเลือกเองได้ ผลงานเรื่องแรกในค่ายนี้คือเรื่อง The Young Master (1980) ซึ่งสามารถทำรายได้ 10 ล้านเหรียญฮ่องกงเป็นเรื่องแรก จากนั้น หลังจากนั้นเฉินหลงก็ได้กลับมาทำหนังในฮ่องกงกับร่วมกับ 2 สหายอย่าง หงจินเป่า และ หยวนเปียว โดยผลงานที่ทั้งสามได้แสดงด้วยกันมี 6 เรื่อง คือ Winners and Sinners (1983) Project A (1984) Wheels on Meals (1984) My Lucky Stars (1985) Twinkle Twinkle Lucky Stars (1986) และ Dragons Forever (1988) เป็นเรื่องสุดท้าย (แต่เรื่อง Heart of Dragon (1985) เฉินหลงกับหงจินเป่าแสดง แต่หยวนเปียวอยู่ในส่วนกำกับคิวบู๊ )

แต่เฉินหลงกลับมาประสบความสำเร็จอย่างสูงอีกครั้ง ในหนังตำรวจร่วมสมัยอย่าง Police Story (1985) โดยเรื่องนี้ทำให้เฉินหลงได้รับรางวัลม้าทองคำ (ตุ๊กตาทองฮ่องกง) ถึง 2 รางวัล คือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และ ออกแบบฉากต่อสู้ยอดเยี่ยม จากนั้นเฉินหลงก็แสดงหนังในฮ่องกงหลายเรื่องตลอดมาเรื่อยๆ เช่น Armour of God (1987) Police Story 2 (1988) Miracles (1989)

จนโชคเพิ่งมาเข้าข้างเฉินหลงในช่วงยุค'90 หนังหลายเรื่องของเฉินหลงเป็นที่ยอมรับในทั่วเอเชียเกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น Armour of God II: Operation Condor (1991) Police Story 3: Supercop (1992) City Hunter (1993) Crime Story (1993) และตำนานไอ้หนุ่มหมัดเมาอย่าง Drunken Master II (1994) ซึ่งเรื่องนี้เฉินหลงได้ร่วมงานกับ หลิวเจียงเหลียง อีกทั้งยังทำรายได้ไปถึง 40 ล้านเหรียญฮ่องกง จากนั้นเฉินหลงก็มีหนังท็อปฟอร์มหลายเรื่องในเวลาต่อมา เช่น Thunderbolt (1995) Police Story 4: First Strike (1996) Mr. Nice Guy (1997) และ Who Am I? (1998)

ฮอลลีวูด
เฉินหลงก็มีโอกาสไปแสดงหนังฮอลลีวู้ดเป็นครั้งแรกในหนังพีเรียด - กังฟู เรื่อง The Big Brawl (1980) (ซึ่งรู้จักกันในชื่อ Battle Creek Brawl) ผลลัพธ์ที่ได้คือ ไม่ประสบความสำเร็จเลย จากนั้นเขาก็แสดงเป็นตัวประกอบในหนังแนว Road Movie อย่าง Cannonball Run (1981) และ Cannonball Run 2 (1982) เรียกได้ว่าการไปเล่นหนังฮอลลีวู้ดของเขานั้น ล้มเหลวไม่เป็นท่า และเรื่องที่ 4 อย่าง The Protector (1985) ซึ่งก็ล้มเหลวอีกครั้ง

และการไปเปิดตลาดอเมริกาครั้งที่สอง ของเฉินหลงก็เป็นผล เมื่อ Rumble in the Bronx (1995) สามารถเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ็อกซ์ออฟฟิสของอเมริกาเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1996 สามารถทำรายได้ตลอดการฉายถึง 32.3 ล้านเหรียญสหรัฐ

และการแสดงหนังฮอลลีวู้ดของเฉินหลงในรอบหลายปีก็เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อเฉินหลงนำแสดงใน Rush Hour (1998) ที่นำแสดงคู่กับ คริส ทักเกอร์ หนังประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยสามารถทำรายได้ในบ็อกซ์ออฟฟิสถึง 141.1 ล้านเหรียญ และ 244.3 จากทั่วโลก จากนั้นเฉินหลงก็มีโอกาสเล่นหนังทั้งในฮ่องกงและอเมริกาสลับกันหลายๆครั้ง เช่น Gorgeous (1999) Shanghai Noon (2000) The Accidental Spy (2001) และเฉินหลงก็กลับมาเล่นหนังภาคต่ออย่าง Rush Hour 2 (2001) The Tuxedo (2002) และ Shanghai Knights (2003) ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเหมือนเคย

แต่ผลงานอย่าง Around The World in 80 Days (2004) ที่เฉินหลงร่วมแสดงกับ สตีฟ คูแกน และ ซีซิล เดอ ฟรานซ์ ประสบความล้มเหลวในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยทำเงินทั่วโลกไปเพียงแค่ 72.1 ล้านเหรียญ จากทุนสร้าง 110 ล้านเหรียญสหรัฐ

หลังจากนั้นอีก 3 ปี เฉินหลงก็กลับมาร่วมงานกับ แบร็ท แร็ตเนอร์ และ คริส ทักเกอร์ อีกครั้ง ใน Rush Hour 3 (2007) โดยทิ้งห่างจากภาคที่แล้วถึง 6 ปี และก็ยังทำเงินในอเมริกาถึง 140.1 และ 255.0 จากทั่วโลก

ปี 2008 เฉินหลงนำแสดงร่วมกับ เจท ลี ในภาพยนตร์กำลังภายใน - แฟนตาซี เรื่อง The Forbidden Kingdom (2008) โดยเป็นการร่วมกันครั้งแรกของทั้งคู่ และในปีเดียวกันเฉินหลงยังให้เสียงตัวการ์ตูน "Master Monkey" ในเรื่อง Kung Fu Panda (2008) ของ ดรีมเวิร์กส์ แอนนิเมชั่น โดยมีผู้ร่วมให้เสียง เช่น แจ็ค แบล็ค, ดัสติน ฮอฟแมน, แองเจลิน่า โจลี่ และ ลูซี่ ลิว

เฉินหลงนำแสดงในหนังแอ็คชั่น - คอมเมดี้ เรื่อง The Spy Next Door (2010) โดยรับบทเป็นพี่เลี้ยงเด็กที่ต้องมาต่อสู้กับเหล่าสายลับมากฝีมือ หลังจากที่เหล่าเด็กๆดูแลดันเกิดโหลดข้อมูลลับขององค์กรแห่งหนึ่ง โดยมีกำหนดฉายต้นปี 2010 และ Kung Fu Kid งานรีเมคจากอดีตหนังดังอย่าง The Karate Kid (1984) แสดงร่วมกับ จาเดน สมิธ ลูกชายของนักแสดงชื่อดัง วิล สมิธ ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยเปิดตัวขึ้นอันดับหนึ่งในบ๊อกซ์ออฟฟิศ และทำไปกว่า 170 ล้านเหรียญในสหรัฐ และกำลังออกฉายตามทั่วโลก

ชีวิตส่วนตัว

เฉินหลงเคยแต่งงานมาแล้วครั้งหนึ่งกับ หลินฟ่งเจียว นักแสดงชาวไต้หวัน เมื่อปี 1982 มีลูกด้วยกัน 1 คน คือ เฉินจู่หมิง หรือ Jaycee Chan ปัจจุบันแยกกันอยู่ แต่เมื่อปี 1999 หนังสือพิมพ์ในฮ่องกงต่างพาดหัวข่าวว่า "เฉินหลงทำผู้หญิงท้อง" ผู้หญิงคนนั้นมีชื่อว่า อีเลน อึ้ง อดีตมิสเอเชียปี 1990 ปัจจุบันเฉินหลงมีลูกสาวอย่างลับๆอีก 1 คน



ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%87